การคำนวณหาน้ำหนักบรรทุกที่ปลอดภัยบนเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง



ในการคำนวณหา กำลังแบกทานของเสาเข็มนั้นมีมากมายหลายวิธี เช่น เมื่อเราทราบขนาดและความยาวของเสาเข็มแล้ว อาจคำนวณจากผลการเจาะทดสอบดินบริเวณนั้น ก็จะรู้ว่ากำลังแบกทานของเสาเข็มต้นนั้นจะแบกรับน้ำหนักปลอดภัยได้เท่าใด หรือ
กรณีเป็นเสาเข็มหล่อกับที่(ไม่ได้ใช้ลวดอัดแรง)ก็จะมีวิธีการคำนวณแตกต่างกัน หรือ
กรณีเป็นเสาเข็มอัดแรงหล่อสำเร็จรูป ก็จะมีวิธีการคำนวณแตกต่างกัน ในบทความนี้จะเป็นการแสดงวิธีการคำนวณ กรณีเป็นเสาเข็มอัดแรงหล่อสำเร็จรูป(จากโรงงาน) โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบที่ 1 คือ เสาเข็มสั้น และแบบที่ 2 คือ เสาเข็มยาว(ชลูด) โดยใช้สูตรมาตรฐาน PCI Standard
ตัวอย่างที่ 1
อยากทราบว่า เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง หน้าตัดสี่เหลี่ยมตัน ขนาด 30 ซม. x 30 ซม. ยาว 12.00 ม. รับน้ำหนักปลอดภัยได้เท่าไร? ถ้ามีใครมาตั้งคำถามกับเราเช่นนี้ เราก็คงตอบเขาได้แบบหยาบๆ โดยประมาณ(แต่ไม่ยอมแสดงรายการคำนวณ) คงต้องตอบแบบผู้รับเหมา จริงๆแล้วถ้าเสาเข็มมีขนาดหน้าตัดและความยาวเท่ากันก็จริงอยู่แต่ประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักแบกทานของเสาเข็ม ยังขึ้นอยู่กับปริมาณจำนวนเหล็กเสริมอัดแรง ซึ่งมากน้อยไม่เท่ากันอีก(ในแต่ละโรงงาน) นอกจากนี้ ความแตกต่างในการใช้วัสดุ เช่น Strength ของคอนกรีต คุณสมบัติของลวดอัดแรง ฯลฯ เป็นต้น จะเป็นตัวกำหนดในการที่เราจะคำนวณหากำลังแบกทานของเสาเข็ม ผู้มีประสบการณ์บางคน(เก๋ามากไป) อาจตอบว่า เสาเข็ม ขนาด 30x30 cm. x 12.00m. รับน้ำหนักปลอดภัยได้ราว 30- 60 ตัน (ห้ามไปถามเขาว่าแล้วถ้าไปตอกในดินเลนแถวบางพลี สมุทรปราการ เสาเข็มนี้จะรับ น้ำหนักปลอดภัยได้ 60 ตันไหม?) กรณีเช่นนี้ต้องคำนวณอีกวิธีหนึ่งเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา คือการคำนวณกำลังแบกทานของเสาเข็มจากผลการทดสอบ-เจาะดิน ซึ่งจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป
ดาวน์โหลด: www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/037/3.PDF
(ยังมีต่อ)