การขุดคลองระบายน้ำแบบมีดาดคอนกรีตและใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จ (Construction for Concrete Lining Canal)



การขุดคลองระบายน้ำแบบมีดาดคอนกรีตและใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จ (Construction for Concrete Lining Canal)
ในการทำงานด้านชลประทานหรืองานระบายน้ำเราจะมีงานที่เกี่ยวข้องหลักก็คือท่อระบายน้ำหรือรางระบายน้ำเพื่อเป็นทางระบายน้ำออกตามความต้องการของผู้ออกแบบ ซึ่งการเลือกใช้โครงสร้างของรางระบายน้ำก็ขึ้นอยู่กับความสำคัญของการใช้งานและการบำรุงรักษาในระยะยาว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความสำคัญและต้องการลดการบำรุงรักษาในระยะยาว ในที่นี้จึงขอนำเสนอวิธีการก่อสร้างของการขุดคลองระบายน้ำแบบมีดาดคอนกรีตที่ท้องคลองและใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จติดตั้งเพื่อป้องกันความลาดเอียงด้านข้างของคันคลอง (Slope Protection) เพื่อเป็นการแบ่งปันประสพการณ์และชี้ถึงข้อดี-ข้อเสียของการก่อสร้างเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับวางแผนงานของผู้ที่ต้องทำงานในลักษณะนี้ต่อไปในอนาคต
รูปที่ 1 แสดงการขุดดินและปรับระดับท้องคลองและความลาดเอียงด้านข้าง (Slope Shaping)
การขุดดินและปรับระดับท้องคลองและความลาดเอียงด้านข้าง (Slope Shaping) ต้องใช้เครื่องจักร เครื่องมือที่เหมาะสมระมัดระวังไม่ให้มีการขุดเกินออกไป (Over Cut) เพราะจะทำให้มีปัญหาถ้าต้องมีการถมเสริมดิน โดยเฉพาะที่บริเวณที่ Slope ด้านข้างของคันคลอง เพระบริเวณนั้นจะเป็นจุดอ่อนจะทำให้เกิดการพังทะลายในอนาคต
รูปที่ 2 แสดงการขุดดินและปรับระดับท้องคลองและความลาดเอียงด้านข้าง (Slope Shaping)
รูปที่ 3 แสดงการปูแผ่น Geotextile เพื่อเป็นการแบ่งแยกชั้นวัสดุ
รูปที่ 4 แสดงการลงชั้นทรายรองพื้น(Sand Blanket) และทำการบดอัดให้เรียบและแน่นตามที่ต้องการ
รูปที่ 5 แสดงการวางท่อของ Weep Hole และเทคอนกรีตหยาบรองพื้น (Lean Concrete)
รูปที่ 6 เทพื้นของท้องคลอง
รูปที่ 7 แสดงการติดตั้งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับ Slope Protection โดยใช้รถ Forklift
รูปที่ 8 แสดงการติดตั้งแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับ Slope Protection โดยใช้รถ Backhoe
รูปที่ 9 แสดงการวางหิน Mortared Rip-rap หลังจากปรับดินเรียบร้อยแล้ว
รูปที่10 แสดงการเท Mortar อุดช่องว่างระหว่างหิน
รูปที่ 11 แสดงหลังจากการทำ Mortared Rip-Rap
รูปที่ 12 แสดงการหยอดอุดแนวรอยต่อของแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป